วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันอังคารที่ 27 มกราคม 2558





วันนี้เป็นการเรียนในเนื้อหาและมีกิจกรรมท้ายคาบ
หลักการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

   ความสำคัญ     
ศิลปะเป็นพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยเพราะศิลปะ ช่วยให้เด็กปฐมวัยมีประสบการณ์ที่หลาหลาย
- ประสบการณ์ด้านการสำรวจ ตรวจสอบ
- ประสบการณ์ด้านวัสดุ-อุปการณ์
- ประสบการณ์ทางด้านความรู้สึก และการใช้ประสาทสัมผัส

  จุดมุ่งหมายในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย  
- ไม่ใช่การสอนให้เด็กวาดรูปเก่ง
- เป็นการปลูกฝังนิสัยอันดีงาม ละเอียดอ่อน และให้มความพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับสูงต่อไป
- การสอนศิลปะเด็กจึงมีจุดมุ่งหมาย เพื่อ
   1. ฝึกทักษะการใช้มือและเตรยมความพร้อม ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
   2. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ + ความสามารถของเด็กแต่ละคน
   3. พัฒนาทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและบุคลิกภาพ
   4. ปลูกฝังค่านิคม เจตคติ และคุณสมบัติที่ดีของศิลปะ และวัฒนธรรมไทย
   5. ฝึกให้เด็กเริ่มต้นเรียนรู้การใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ในการทำศิลปะ รู้จักเก็บรักษา และทำความสะอาดอย่างถูกต้อง
   6. ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม
   7. เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกอย่างอิสระ
   8. นำประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

  บทบาทของครูศิลปะ  
- เป็นผู้สร้างบรรยากาศ
- เป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน
- เป็นผู้ดูแลเด็กให้สร้างสรรค์ผลงาน
- เป็นต้นแบบที่ดี
- เป็นผู้อำนวยความสะดวก

  ข้อควรคำนึงในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย  
1. หลีกเลี่ียงการให้แบบ
2. ช่วยพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองให้แก่เด็ก
3. ไม่บีบบังคับหรือคาดคั้น
4. ไม่แก้ไขหรือช่วยเด็กทำผลงาน
5. ไม่วิจารณ์งานศิลปะเด็ก
6. การช่วยให้ผู้ปกครองเห็นคุณค่างานของเด็ก
7. ขยายประสบการณ์ทางศิลปะของเด็ก

  การเตรียมการสำหรับการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย  
- การสร้างข้อตกลง และระเบยบการใช้วัสดุ อุปกรณ์
- การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอ
- การจัดวางวัสดุ อุปกรณ์ให้สะดวกแก่การใช้งาน
- การจัดเตรียมเครื่องมือรักษาความสะอาด
- การจัดเตรียมพื้นที่ในการทำงานอย่างเหมาะสม และเพียงพอ
- การจัดเก็บผลงาน / การจัดสถานที่แสดงผลงาน

 ลำดับขั้นตอนการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย  
- ขั้นตอนการสอนศิลปะ
   1. เลือกเรื่องที่จะสอ
   2. กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอน
   3. เตรียมการสอนก่อน
       - เตรียมแผนการสอน
       - เตรียมอุปกรณ์การสอน
   4. ทดลองและตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนลงมือสอนจิง
   5. ทำการสอนจริงตามแผน
   6. เตรียมตัวเด็กให้พร้อมก่อนการลงมือทำผลงาน
   7. การปฏิบัติงานของเด็ก โดยมีครูเป็นผู้ดูแล แนะนำ ช่วยเหลือ ตลอดจนเขียนชื่อ และจดบันทึกข้อมูล
   8. การเก็บ การรักษา และการทำความสะอาด
   9. การประเมินผลงานเด็ก

  เทคนิคการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย  
การสอนศิปะเด็กให้ดีและประสบผลสำเร็จ
1. เข้าถึง - ดูแล เอาใส่ใจ ใกล้ชิดเด็กแต่ละคนอย่างเท่าเทียม
2. เข้าใจ - ความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. ให้ความรัก - รักและเข้าใจ สนับสุนและพัฒนา ช่วยเหลือ
4. สร้างสรรค์บรรยากาศ - หลากหลาย สนุกสนาน อิสระ
5. มีระเบียบวินัย - มีข้อตกลงร่วมกัน
6. ปลอดภัย -คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
การสอนให้เด็กมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
1. เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกอย่างเสรี
2. ฝึกหัดให้เกิดการเรียนรู้ ทดลองด้วยตนเอง ลองผิดลองถูก
3. เรียนรู้การวางแผนงานและแก้ไขปัญหา
4. ส่งเสริมการแสดงออกอย่างหลากหลายรูปแบบ
5. เน้นการเรียนปนเล่น
6. สนันสนุน/เน้นเรื่องคุณค่าความงาม ความดี

  กิจกรรม วาดภาพระบายสี  
คำสั่ง : วาดภาพต่อเติมจจากเส้นที่กำหนดให้ พร้อมตกแต่งและระบายสีให้สวยงาม


Before & After


*หมายเหตุ วันพฤหัสที่ 29 มกราคม 2558 อาจารย์บาสไปสัมนา จึงมอบหมายงานมาด้วย 2 ใบงาน

  กิจกรรม ออกแบบลวดลาย  
คำสั่ง : วาดลวดลายที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละช่อง



  กิจกรรม ออกแบบลวดลาย  
คำสั่ง : วาดโครงร่างอะไรก้ได้ที่ชอบ 1 ชนิด และออกแบบลวดลายตามจินตนาการพร้อมระบายสี





 

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันอังคารที่ 20 มกราคม 2558
วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม 2558




สัปดาห์นี้เป็นการเรียนความหมายและทฤษฎีต่างๆ

   ศิลปะคืออะไร ?   
ศิลปะ แต่เดิมหมายถึง งานช่างฝีมือ เป็นงานที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นด้วยความปราณีต วิจิตรบรรจง ฉะนั้น งานศิลปะจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นผลงานที่มนุษย์ใช้ปัญญา ความศรัทธา และความพากเพียรพยายามสร้างสรรค์ขึ้นมา

   ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ   
1. ทฤษฎีพัฒนาการ
    - พัฒนาการทางศิลปะของโลเวนเฟลด์
2. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
    2.1 ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด
        2.1.1 มี 3 มิติ
                 - มิติที่ 1 เนื้อหา
                 - มิติที่ 2 วิธีการคิด
                 - มิติที่ 3 ผลของการคิด
    2.2 ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
        2.2.1 แบ่งเป็น 5 ขั้น
                 - ขั้นการค้นพบความจริง
                 - ขั้นการค้นพบปัญหา
                 - ขั้นการตั้งสมมุติฐาน
                 - ขั้นการค้นพบคำตอบ
                 - ขั้นยอมรับผลจากการค้นพบ
    2.3 ทฤษฎีความรู้สองลักษณะ
         2.3.1 สมองซีกซ้าย - เหตุผล
         2.3.2 สมองซีกขวา - จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
    2.4 ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
           แบ่งเป็น 9 ด้าน
           - ความสามารถด้านภาษา
           - ความสามารถด้านดนตรี
           - ความสามารถด้านกีฬาและการควบคุมเคลื่อนไหวของร่างกาย
           - ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
           - ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา
           - ความสามารถด้านการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา
           - ความสามารถด้านตรรกวิทยาและคณิตศาสตร์
           - ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
           - ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์
    2.5 ทฤษฎีโอตา
           มีลำดับการพัฒนา 4 ขั้นตอน
           - การตระหนัก
           - ความเข้าใจ
           - เทคนิควิธี
           - การตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ

   พัฒนาการทางศิลปะ   
   เคลล็อก ศึกษางานขีดๆเขียนๆของเด็กปฐมวัย และจำแนกขั้นตอนออกเป็น 4 ขั้นคือ
ขั้นที่ 1 ขั้นขีดเขี่ย  - เด็กวัย 2 ขวบ
                              - ขีดๆเขียนตามธรรมชาติ
                              - ขีดเขี่ยเป็นเส้นตรงบ้าง โค้งบ้าง
                              - ขีดโดยปราศจากการควบคุม
ขั้นที่ 2 ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง
                              - เด็กวัย 3 ขวบ
                              - การขีดๆเขียนๆเริ่มเป็นรูปร่างขึ้น
                              - เขียนวงกลมได้
                              - ควบคุมมือกับตาให้สัมพันธ์กันมากขึ้น
ขั้ที่ 3 ขั้นรู้จักออกแบบ
                              - เด็กวัย 4 ขวบ
                              - ขีดๆเขียนๆที่เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน
                              - วาดโครงสร้างหรือเค้าโครงได้
                              - วาดสี่เหลี่ยมได้
ขั้นที่ 4 ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ
                              - เด็กวัย 5 ขวบขึ้นไป
                              - เริ่มแยกแยะวัตถุที่เหมือนกับมาตราฐานของผู้ใหญ่ได้
                              - รับรู้ความเป็นจริง เขียนภาพแสดงถึง ภาพคน / สัตว์ ได้
                              - ควบคุมการขีดเขียนได้ดี
                              - วาดสามเหลี่ยมได้

   พัฒนาการด้านร่างกาย   
    กีเซลล์และคอร์บิน สรุปพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัยตามลักษณะพฤติกรรมทางการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก เช่น การตัด การขีดเขียน การพับ และการวาด

   กิจกรรม มือสร้างสรรค์ (หน่วยร่างกาย)   

ผลงานของฉัน





ผลงานรวมของทั้งห้อง





วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

วันอังคารที่ 13 มกราคม 2558
วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม 2558



1.เรียนวันนี้อาจารย์แจก Course Syllabus และอธิบายแนวการสอนและการเข้าเรียน การให้คะแนนในรายวิชา งานที่นักศึกษาต้องรับผิดชอบ งานในแต่ละสัปดาห์เป็นอย่างไร

2.อาจารย์ให้วาดรูปของตนเองตามจินตนาการ

                                                 



  รวมภาพตัวเองของนักศึกษาให้องเรียน  




   สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้ คือ    

- ไม่ควรปิดกั้นจินตนาการของเด็ก
- ไม่ควรตำหนิผลงานของเด็ก
- ครูไม่ควรดูจากความสวยงามของเด็กแต่ต้องดูคณะทำกิจกรรม
- ครูควรเดินดูขณะเด็กทำกิจกรม
- ครูควรนำผลงานของเด็กทุกคนมาติดโชว์เพื่อเป็นกำลังใจให้กับเด็ก
- ครูเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่าผลงานจากที่เด็กวาด


3. กิจกรรมตอบคำถาม โดยการแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน




   แต่ละกลุ่มจะนำเสนอในหัวข้อ   

- ศิลปะ หมายถึง และความสำคัญต่อเด็กปฐมวัย
- ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
- บทบาทของครูที่จะสอนศิลปะ
- คุณลักษณะของครู
- สื่อที่จะนำมาสอนศิลปะ
- ตัวอย่างของกิจกรรมศิละปะสำหรับเด็กปฐมวัย
- สิ่งที่คาดว่าจะได้รับในรายวิชานี้




   ผลงานของกลุ่ม   





   สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรม   

-ได้ทราบความหมายของศิลปะจากหลายๆกลุ่ม
- ความกล้าแสดงออก การออกไปพูดหน้าชั้นเรียน
- การทำงานเป็นทีม ความสามัคคี
- ได้ทราบถึงบทบาทของครู คุณลักษณะของครูที่สอนศิลปะว่าเป็นอย่างไร
- สื่อที่จะนำมาสอนมีอะไรบ้าง เช่น การฉีกปะ การระบาย การพิมภาพ เป็นต้น